พระวิทูรชาดก

เนื้อเรื่องย่อ ในแคว้นกุรุรัฐ พระเจ้าธนัญชัยโกรพราช ได้พบชาย3คน คนแรกเป็นพระอินทร์แปลง คนที่สองพญาครุฑแปลง คนที่สามพญานาคแปลง ทั้งสี่เถียงกันว่าใครจะรักษาศีลได้ดีกว่ากัน ทุกคนก็บอกว่าตน พระเจ้าธนัญชัยโกรพราชจึงให้วิฑูรบัณฑิตช่วยตัดสิน วิฑูรบัณฑิตกล่าวว่า ศีลทั้ง ๔ ข้อ ล้วนเสมอกันเป็นคุณธรรมเลิศล้ำ ทุกคนยอมรับผล เมื่อพญานาคกลับถึงนาคพิภพก็เล่าให้ภรรยาฟัง ภรรยาก็อยากได้หัวใจของวิฑูรบัณฑิต แต่พญานาคบอกว่าเป็นไปไม่ได้ พระนางอิรันฑตีพระราชธิดาทราบก็บอกว่าจะเป็นคนไปเอาหัวใจมาเอง นางขึ้นไปยังเมืองมนุษย์ประกาศว่าหากใครนำหัวใจของวิฑูรบัณฑิตมาได้ นางจะยอมเป็นเมียผู้นั้น ขณะนั้นมียักษ์นามปุณณกะ กำลังขี่ม้าเหาะผ่านมาทางยอดเขาเกิดชอบนางอิรันฑตี จึงจะไปเอาหัวใจของวิฑูรมาให้ได้ปุณณกะเหาะไปถึงเมืองราชคฤห์ แวะเก็บแก้วมณีชื่อ "มโนหร" บนยอดเขาบรรพตไปด้วยแล้วขอเข้าพระราชวังไปขอเฝ้าพระเจ้าธนัญชัยโกรพราช และท้าแข่งสกา หากพระเจ้าธนัญชัยโกรพราชชนะจะได้แก้วมณีวิเศษณ์และม้า แต่ถ้าแพ้จะต้องให้สิ่งที่ตนต้องการ เมื่อแข่งพระเจ้าธนัญชัยโกรพราชแพ้ ยักษ์ปุณณกะจึงขอวิฑูรบัณฑิตไป และพยายามฆ่าเพื่อเอาหัวใจ วิฑูรบัณฑิตจึงขอไปหาพญานาคที่นาคพิภพ เมื่อภรรยาพญานาคเห็นก็ดีใจมากและเกิดเลื่อมใส นางอิรันฑตีกับยักษ์ปุณณกะก็ได้รักกัน และยักษ์ปุณณกะก็มอบดวงแก้วมณีให้วิฑูรบัณฑิต และพาวิฑูรบัณฑิตมาส่งดังเดิม คติธรรมที่ได้จากเรื่องนี้ สัจจบารมี การพนันนั้นส่งผลให้เกิดความพิบัติ การรักษาคำพูดของตนก็สำคัญ และการมีเมตตาต่อผู้อื่นก็จะได้รับเมตตานั้นกลับคืนมาเช่นกัน

เวสสันดร 2

กล่าวถึงการบำเพ็ญทานบารมีของพระโพธิสัตว์เวสสันดรเป็นชาติสุดท้ายก่อนที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ พระเวสสันดรเป็นราชโอรสของพระเจ้าสัญชัยและพระนางผุสดี เจ้าเมืองนครสีพี เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษาได้ทรงอภิเษกกับพระนางมัทรี มีพระโอรสคือเจ้าชายชาลี และพระธิดาคือเจ้าหญิงกัณหา วันหนึ่งพระเวสสันดรได้พระราชทานช้างปัยจัยนาคแก่แคว้นกาลิงคะที่ส่งทูตมาขอเพื่อนำไปอาศัยบารมีให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลและปัญหาอดอยากของชาวกาลิงคะ แต่ชาวเมืองสีพีไม่พอใจที่นำช้างคู่บ้านคู่เมืองไปบริจาค จึงบอกให้พระเจ้าสัญชัยไล่พระเวสสันดรออกจากกรุง ก่อนไปพระองค์ขอโอกาสบริจาคทานครั้งใหญ่เรียกว่า”สัตตสตกมหาทาน” จากนั้นพระองค์จึงพาพระชายา พระโอรสและพระธิดาไปบวชอยู่ที่เขาวงกตในป่าหิมพานต์ วันหนึ่งขอทานชื่อชูชก มาขอพระกัณหาและพระชาลีเพื่อไปเป็นข้ารับใช้นางอมิตดาภรรยาของตน พระเวสสันดรทรงยกให้และตีราคาค่าตัวไว้สูง ด้วยความโลภชูชกจึงนำสองพระกุมารไปให้พระเจ้าสัญชัยไถ่คืน พระอินทร์รู้เหตุการณ์จึงเกรงว่าพระเวสสันดรจะบริจาคนางมัทรีให้เป็นทานแก่คนอื่นอีก พระอินทร์จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์หนุ่มมาขอพระนางมัทรี พระเวสสันดรก็ประทานให้ตามที่ขอ พระอินทร์จึงกลับคืนร่างแล้วคืนนางมัทรีให้ จากนั้นไม่นาน พระเจ้ากรุงสัญชัยได้เชิญพระเวสสันดรกลับบ้านเมืองเพื่อสืบราชสมบัติ ในขณะนั้นพระเจ้ากาลิงคะได้นำช้างปัจจัยนาคมาคืนเมื่อฝนตกต้องตามฤดูกาล เมื่อกษัตริย์ทั้ง 6 คือ พระเจ้าสัญชัย พระนางผุสดี พระเวสสันดร พระนางมัทรี พระชาลี และพระกัณหา มาพบกันทรงสวมกอดกันและทรงกันแสงจนสลบทั้ง6พระองค์ ได้เกิดฝนโบกขรพรรษตกมาโดนกายให้ฟื้นขึ้น พระเวสสันดรจึงกลับมาครองราชย์ต่อไป คติธรรมที่ได้จากเรื่องนี้ ทานบารมี ในชาติสุดท้ายนี้ท่านได้บำเพ็ญทานบารมีขั้นสูงสุดด้วยการประทานพระชายา พระโอรส และพระธิดาเป็นทาน นั่นคือท่านทรงเสียสละอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติ อีกทั้งยังทรงบริจาคช้างปัจจัยนาค แสดงให้เห็นถึงความเมตตาและความเห็นใจความทุกข์ของผู้อื่น

พระจันทกุมาร

จันทกุมารชาดก เป็นชาติที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็น จันทกุมาร โอรสของพระเจ้าเอกราชแห่งกรุงบุปผวดี พระเจ้าเอกราชมีปุโรหิตราชครูเป็นพราหมณ์ชื่อ กัณฑหาละ ที่ทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง ชอบรับสินบนจึงวินิจฉัยคดีอย่างไม่ยุติธรรม ทำให้ประชาชนเดือดร้อนไปทั่ว วันหนึ่งมีการร้องทุกข์ขึ้น พระจันทกุมารได้ตัดสินคดีใหม่ให้มีความยุติธรรม ผู้คนต่างสรรเสริญยินดี พระเจ้าเอกราชจึงตั้งให้จันทกุมารเป็นผู้วินิจฉัยคดีแทน พราหมณ์กัณฑหาละจึงโกรธแค้นผูกอาฆาตพยาบาท และได้ออกอุบายว่าถ้าพระเจ้าเอกราชอยากไปเกิดบนสวรรค์ ให้บูชาด้วยพระราชบุตร พระราชธิดา ช้าง ม้า วัว ควาย ให้ครบอย่างละสี่ พระเจ้าเอกราชหลงเชื่อจึงให้จัดพิธีบูชายัญ พระจันทกุมารต้องมีขันติอดทนต่อการถูกทารุณกรรมด้วยวิธีต่าง ๆ จนพระนางจันทเทวีมเหสีของพระจันทกุมารต้องอธิษฐานขอให้เทพยด้ทั้งปวงช่วยเหลือ ด้วยแรงอธิษฐานพระอินทร์จึงมาช่วยให้พระเจ้าเอกราชล้มเลิการบูชายัญ พราหมณ์กัณฑหาละถูกประชาชนลงทัณฑ์จนตาย แม้พระเจ้าเอกราชประชาชนก็จะลงทัณฑ์ด้วย แต่พระจันทกุมารได้ขอชีวิตไว้ พระเจ้าเอกราชถูกขับออกจากเมือง พระจันทกุมารได้ขึ้นครองราชย์ต่อมาจนตลอดพระชนมายุ บารมีประจำเรื่องนี้ คือ "ขันติบารมี" ข้อมูลจาก "เกร็ดวรรณคดีไทย" ชุดส่งเสริมเอกลักษณ์ไทย ฝ่ายวิชาการ หอสมุดกลาง 09 เรื่อง ณ เมืองพาราณสี ในพระราชวังมีปุโรหิตใจบาปนามว่า "กัณฑหาลพราหมณ์" เป็นผู้มักคิดการชั่วช้าชอบสินบน ตัดสินความใดก็ไม่ชอบธรรม วันหนึ่งเจ้าชายจันทกุมารเจอผู้ชายคนหนึ่งเดินร้องไห้เพราะเขาถูกตัดสินคดีอย่างไม่ยุติธรรม เจ้าชายจันทกุมารจึงสั่งให้ตัดสินใหม่อีกครั้งด้วยพระองค์เองให้ชายผู้นั้นชนะคดี พระเจ้าเอกราชจึงให้เจ้าชายจันทกุมารเป็นผู้พิพากษาแทนกัณฑหาล กัณฑหาลคิดแก้แค้นเจ้าชาย วันหนึ่งกัณฑหาลเสนอหนทางไปสวรรค์แก่พระเจ้าเอกราช ให้ทำการบูชายัญโดยการฆ่าพระมเหสี พระโอรส และพระธิดาถวายเทพเจ้า บนปากหลุมบูชายัญ เจ้าชายวิงวอนว่า "ขอเดชะพระราชบิดา การฆ่าคนเพื่อบูชายัญมิใช่ทางไปสวรรค์ หากการสละของรักทำให้ขึ้นสวรรค์ได้จริง เหตุใดปุโรหิตจึงมิฆ่าลูกเมียบูชายัญบ้างเล่า ปุโรหิตทำเช่นนี้เพราะแค้นเคืองหม่อมฉัน หากพระบิดาทรงเมตตาก็ให้ขับหม่อมฉันออกจากนคร แล้วไว้ชีวิตทุก ๆ คนด้วยเถิดพระเจ้าข้า" แต่ไม่เป็นผล กัณฑหาลกำลังจะเอาดาบปาดคอเจ้าชาย ด้วยแรงอธิษฐานพระอินทร์มองลงมาด้วยสายตาแข็งกร้าวและพูดไม่ให้พระเจ้าเอกราชบูชายัญ ชาวบ้านรุมกันทำร้ายกัณฑหาลจนตาย ชาวบ้านหมายฆ่าพระเจ้าเอกราชแต่เจ้าชายห้ามไว้ ชาวบ้านให้อภัยแต่ไล่ให้ออกจากเมืองและให้เจ้าชายจันทกุมารขึ้นครองราชย์แทน แต่พระองค์ก็ยังไปเยี่ยมพระบิดาและคอยส่งทหารไปดูแลอยู่เป็นประจำ คติธรรมที่ได้จากเรื่องนี้ ขันติบารมี อาฆาตจองเวรนั้น ย่อมให้ทุกข์กลับคืนแก่ตนในที่สุด และความเขลาหลงในทรัพย์และสุขของผู้อื่น ก็ย่อมให้ผลร้ายแก่ตัวได้ในไม่ช้าเช่นกัน

เครื่องยา 1

พระมโหสถ

มโหสถชาดก เป็นชาดกเรื่องที่ 5 จากทศชาติชาดก โดยกล่าวถึงพระโคตมโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมีอันเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การตรัสรู้เป็นพระโคตมพุทธเจ้าในที่สุด ในพระราชนิพนธ์เรื่อง ไกลบ้าน อันเป็นพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการกล่าวถึงเรื่องมโหสถและพระเจ้าจุลนีพรหมทัตไว้ในพระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๖ ตรงกับปี พ.ศ. 2450 อันเป็นคืนที่ 84 คราวเสด็จประพาสจาก เยอรมนี มายัง ฝรั่งเศส ความตอนหนึ่งว่า กำลังเดินจากรถกินเข้ามารถที่นั่ง ผเอินเข้าถ้ำต้องเดินคลำกันเสียงอม เหมือนท้าวจุลนีในเรื่องมโหสถ เรื่อง ในอดีตกาลมีพระราชานามว่า พระเจ้าวิเทหราช ซึ่งปกครองกรุงมิถิลาทรงมีบัณฑิตคู่พระทัยอยู่ 4 คนคือ เสณกะ, ปุกกุสะ, กามินทะ และเทวินทะ ในคืนหนึ่งพระเจ้าวิเทหราชทรงพระสุบินประหลาดจึงโปรดให้ เสณกะ หัวหน้าบัณฑิตทำนายพระสุบิน ก็ทรงทราบว่าจะมีบัณฑิตคนที่ 5 ที่มีสติปัญญาล่วงเลยบัณฑิตทั้ง 4 ถือกำเนิดในมิถิลา ขณะเดียวกันใน หมู่บ้านปาจีนยวมัชฌคาม พระโพธิสัตว์ได้ทรงถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางสุมนา ภรรยาของสิริวัฒกเศรษฐี เมื่อผ่านไป 10 เดือนนางสุมนาก็ให้กำเนิดบุตรชายที่ได้ถือแท่งยาออกมา ทันทีที่คลอดเสร็จสิริวัฒกเศรษฐีก็ได้นำแท่งยาไปฝนกับหินบดยาแล้วนำมาทาที่หน้าผาก ปรากฏว่าอาการปวดหัวของท่านเศรษฐีก็หายเป็นปลิดทิ้ง ท่านเศรษฐีจึงตั้งชื่อบุตรชายว่า มโหสถกุมาร แปลว่า กุมารผู้มียาอันมีอานุภาพมาก 7 ปีผ่านไปพระเจ้าวิเทหราชทรงรำลึกได้ว่าเมื่อ 7 ปีก่อนทรงพระสุบินว่าจะมีบัณฑิตคนที่ 5 มาเกิดในยุคของพระองค์จึงโปรดให้มหาอำมาตย์ออกไปสังเกตการณ์ในทิศทั้ง 4 ของมิถิลาซึ่งในที่สุดก็มีมหาอำมาตย์ท่านหนึ่งมาถึงหมู่บ้านที่มโหสถกุมารอาศัยอยู่ก็ได้ยินกิตติศัพท์และชื่อเสียงของมโหสถจึงกลับไปทูลรายงานว่าพบบัณฑิตคนที่ 5 แล้วพระเจ้าวิเทหราชดีพระทัยหมายจะเรียกมโหสถเข้ามาเป็นบัณฑิตในราชสำนัก แต่ทรงถูกเสณกะบัณฑิตยับยั้งไว้โดยอ้างว่าต้องการพิสูจน์ปัญญาของมโหสถกุมาร ในการพิสูจน์ปัญญาของมโหสถกุมารว่าเหมาะสมจะเป็นบัณฑิตคนที่ 5 หรือไม่นั้นมีปัญหาทดสอบเชาวน์ปัญญาของมโหสถกุมารถึง 19 ข้อแต่มโหสถกุมารก็สามารถวิสัชนาปัญหาได้หมด พระเจ้าวิเทหราชจึงรับมโหสถเป็นพระราชโอรสบุญธรรม พร้อมทั้งสถาปนาให้เป็นมหาบัณฑิต ซึ่งชื่อเสียงของมโหสถบัณฑิตก็ไปเข้าพระกรรณของ พระเจ้าจุลนีพรหมทัต ราชาแห่งกรุงพาราณสีที่หมายจะตีกรุงมิถิลา แต่ก็ถูกมโหสถบัณฑิตยับยั้งไว้ได้สำเร็จ จนพระเจ้าจุลนีพรหมทัตต้องขอร้องให้มโหสถมารับราชการที่ราชสำนักของพระองค์แต่มโหสถบัณฑิตได้ปฏิเสธไป แต่ได้ให้สัญญากับพระเจ้าจุลนีพรหมทัตว่าถ้าพระเจ้าวิเทหราชสวรรคตเมื่อไหร่จะไปรับใช้ทันที หลังจากพระเจ้าวิเทหราชสวรรคตมโหสถได้ไปรับใช้พระเจ้าจุลนีพรหมทัตตามสัญญาตราบจนสิ้นอายุขัย

เครื่องยา 3

พระนารถ

"พระนารถฤาษี" ผู้ยิ่งด้วยศีลบารมี เป็นเรื่องหนึ่งในชาดก 10 เรื่อง หรือ "ทศชาติชาดก" ซึ่งเป็นเรื่องราว 10 ชาติ สุดท้ายสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ที่เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ก่อนชาติที่เป็นเจ้าชายสิทธัตถะเเห่งศากยวงศ์ เเละได้ตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมพุทธเจ้า องค์ศาสดาของพุทธศาสนา เรื่อง พระราชาอังคติราช ผู้ครองเมืองมิถิลา ผู้ยึดมั่นในทศพิธราชธรรม มีพระธิดาพระองค์หนึ่งชื่อ รุจาราชกุมารี ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง พระเจ้าอังคติราชถามเหล่าอำมาตย์ว่า “พวกเจ้าว่าในราตรีอันรื่นรมย์เช่นนี้ ข้าจะทำอันใดจึงจะมีประโยชน์” อลาตอำมาตย์ทูลว่าให้ทรงยกทัพไปตีบ้านเมืองที่ยังไม่เป็นเมืองขึ้น สุมานอำมาตย์ทูลว่าควรมีงานเลี้ยงให้สนุกสนาน วิชัยอำมาตย์ทูลว่าควรไปฟังธรรมจากผู้ทรงศีล พระองค์เห็นด้วยกับคำตอบของวิชัยอำมาตย์ พระองค์จึงไปหาชีเปลือยรูปหนึ่งนามว่า คุณาชีวก แล้วถามว่าทำอะไรจึงได้ไปสวรรค์และทำอะไรจึงได้ไปนรก คุณาชีวกเบาปัญญาจึงตอบเฉไปอย่างไม่รู้ว่า ”ไม่มีบิดามารดา อาจารย์ บุตร หรือภรรยา มนุษย์และสัตว์เกิดมาเท่าเทียมกัน บุญหรือบาปนั้นไม่มีจริง เมื่อตายไปร่างกายก็แตกสลายดับไปพร้อมทุกข์และสุข ใครจะทำร้ายใครก็ไม่ถือว่าเป็นบาป ทั้งสัตว์และมนุษย์เมื่อเกิดมาครบ 84 กัป ก็จะสามารถพ้นจากทุกข์ไปได้เอง” พระราชาเชื่อจึงเลิกทำความดี เลิกทำงาน ไม่สนใจบ้านเมือง พระธิดารุจาทราบเรื่องก็พยายามบอกแต่ไม่เป็นผล จึงพนมมือขึ้นขอเทวดาให้พระบิดาเห็นถูกต้องเช่นเดิม เมื่อพรหมเทพองค์หนึ่งนามว่า นารท ได้ยินจึงเกิดเมตตา แปลงเป็นฤๅษีมาพูดให้พระราชาได้ฟังว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ชาติหน้านั้นมีจริง และบรรยายความน่ากลัวของนรก สอนให้เลือกคบนักปราชญ์ พระองค์จึงกลับมาคิดถูกต้องตามเดิม คติธรรมที่ได้จากเรื่องนี้ อุเบกขาบารมี สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นรกมีจริง ชาติหน้ามีจริง และการเชื่อสิ่งใดควรพิจารณาให้ดีเสียก่อน

เครื่องยา 2

เวสสันดร 1

มหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก กล่าวถึงพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ในการบำเพ็ญทานบารมี ก่อนจะทรงอุบัติเป็นพระโคตมพุทธเจ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "มหาชาติชาดก" ในการเทศนา เรียกว่า "เทศน์มหาชาติ" กล่าวถึงการบำเพ็ญทานบารมีของพระโพธิสัตว์เวสสันดรเป็นชาติสุดท้ายก่อนที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ พระเวสสันดรเป็นราชโอรสของพระเจ้าสัญชัยและพระนางผุสดี เจ้าเมืองนครสีพี เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษาได้ทรงอภิเษกกับพระนางมัทรี มีพระโอรสคือเจ้าชายชาลี และพระธิดาคือเจ้าหญิงกัณหา วันหนึ่งพระเวสสันดรได้พระราชทานช้างปัยจัยนาคแก่แคว้นกาลิงคะที่ส่งทูตมาขอเพื่อนำไปอาศัยบารมีให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลและปัญหาอดอยากของชาวกาลิงคะ แต่ชาวเมืองสีพีไม่พอใจที่นำช้างคู่บ้านคู่เมืองไปบริจาค จึงบอกให้พระเจ้าสัญชัยไล่พระเวสสันดรออกจากกรุง ก่อนไปพระองค์ขอโอกาสบริจาคทานครั้งใหญ่เรียกว่า”สัตตสตกมหาทาน” จากนั้นพระองค์จึงพาพระชายา พระโอรสและพระธิดาไปบวชอยู่ที่เขาวงกตในป่าหิมพานต์ วันหนึ่งขอทานชื่อชูชก มาขอพระกัณหาและพระชาลีเพื่อไปเป็นข้ารับใช้นางอมิตดาภรรยาของตน พระเวสสันดรทรงยกให้และตีราคาค่าตัวไว้สูง ด้วยความโลภชูชกจึงนำสองพระกุมารไปให้พระเจ้าสัญชัยไถ่คืน พระอินทร์รู้เหตุการณ์จึงเกรงว่าพระเวสสันดรจะบริจาคนางมัทรีให้เป็นทานแก่คนอื่นอีก พระอินทร์จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์หนุ่มมาขอพระนางมัทรี พระเวสสันดรก็ประทานให้ตามที่ขอ พระอินทร์จึงกลับคืนร่างแล้วคืนนางมัทรีให้ จากนั้นไม่นาน พระเจ้ากรุงสัญชัยได้เชิญพระเวสสันดรกลับบ้านเมืองเพื่อสืบราชสมบัติ ในขณะนั้นพระเจ้ากาลิงคะได้นำช้างปัจจัยนาคมาคืนเมื่อฝนตกต้องตามฤดูกาล เมื่อกษัตริย์ทั้ง 6 คือ พระเจ้าสัญชัย พระนางผุสดี พระเวสสันดร พระนางมัทรี พระชาลี และพระกัณหา มาพบกันทรงสวมกอดกันและทรงกันแสงจนสลบทั้ง6พระองค์ ได้เกิดฝนโบกขรพรรษตกมาโดนกายให้ฟื้นขึ้น พระเวสสันดรจึงกลับมาครองราชย์ต่อไป คติธรรมที่ได้จากเรื่องนี้ ทานบารมี ในชาติสุดท้ายนี้ท่านได้บำเพ็ญทานบารมีขั้นสูงสุดด้วยการประทานพระชายา พระโอรส และพระธิดาเป็นทาน นั่นคือท่านทรงเสียสละอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติ อีกทั้งยังทรงบริจาคช้างปัจจัยนาค แสดงให้เห็นถึงความเมตตาและความเห็นใจความทุกข์ของผู้อื่น

พระภูริทัตต

ภูริทัตชาดก เป็นเรื่องที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนาคราชชื่อ ภูริทัต โอรสของท้าวทศรถแห่งเมืองนาค วันหนึ่งภูริทัตได้ตามบิดาไปเข้าเฝ้าพระอินทร์ เมื่อเห็นทิพย์วิมานก็พึงพอใจปรารถนาจะได้เป็นเช่นนั้นบ้างจึงอธิษฐานถืออุโบสถศีลอยู่ในวังนาค โดยตั้งสัตยาอธิษฐานว่าหากใครปรารถนาในหนัง เอ็น กระดูก หรือเลือดเนื้อของพระองค์ ก็ทรงยินดีสละให้ทั้งสิ้น เรื่อง พระธิดาของพระเจ้าพรหมทัต นามว่า พระนางสมุททชา ได้อภิเษกสมรสกับพญานาคที่แปลงกายมาเป็นมนุษย์ นามว่า ท้าวธตรฐ ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งนาคพิภพ จนมีโอรส 4 องค์ ชื่อว่า สุทัศนะ ทัตตะ สุโภคะ และ อริฏฐะ วันหนึ่งท้าววิรูปักษ์พาพวกนาคไปเฝ้าพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ทัตตะก็ตามไปด้วย ในขณะนั้นเหล่าเทวดาแก้ข้อสงสัยของพระอินทร์ไม่ได้ แต่ทัตตะทำได้ พระอินทร์ทรงพอใจยิ่ง จึงประทานชื่อให้ว่า ภูริทัตต แปลว่า ผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน เมื่อได้เห็นสวรรค์ ภูริทัตตจึงอยากเกิดเป็นเทวดาอยู่บนสวรรค์บ้าง จึงขอพระบิดาพระมารดาขึ้นมาบำเพ็ญศีลอยู่ที่โลกมนุษย์โดยขดรอบจอมปลวกอยู่ใกล้ต้นไทรริมแม่น้ำยมุนา และได้ตั้งสัจจอธิษฐานว่า แม้ผู้ใดต้องการหนัง เอ็น กระดูก เลือดเนื้อของตน ก็จะยอมบริจาคให้ ขอเพียงให้รักษาศีลให้บริสุทธิ์ก็พอ จากนั้นมีพรานเนื้อ2คนพ่อลูกมาจากเมืองพาราณสี ผ่านมาจึงเข้าไปถามภูริทัตตเกี่ยวกับเรื่องราวของนาค ท่านตอบด้วยท่าทีเป็นมิตรและส่ง2พ่อลูกไปอยู่นาคพิภพ วันหนึ่ง มีพราหมณ์ชื่อ อาลัมพายน์ มีเวทย์มนต์การจับงู อำนาจมนต์ช่วยให้ได้แก้ววิเศษณ์มาจากนางนาค เดินผ่านมาเจอพรานพ่อลูก พรานพ่อลูกเห็นแก้ววิเศษณ์จึงขอแต่มีข้อแลกเปลี่ยนคือต้องบอกที่อยู่ของพญานาค พรานลูกไม่พอใจที่พ่ออกตัญญูจึงหนีไปบวชเป็นฤๅษี เมื่อพรานพ่อได้แก้ววิเศษณ์มาแล้วกลับทำหล่นตกลงไปในนาคพิภพ พราหมณ์อาลัมพายน์ร่ายมนต์ใส่พญานาค พญานาคเจ็บปวดแสนสาหัส แล้วจึงจับใส่ถุงไปจัดแสดงให้พระเจ้าพาราณสีดู สุทัศนะพี่ชายได้แปลงกายเป็นฤๅษีและนำนาคแปลงเป็นลูกเขียด ท้าทายพราหมณ์ให้นำพญานาคมาสู้กับเขียด เขียดคายพิษ3หยดลงบนมือฤๅษี ไอพิษโดนผิวหนังของพราหมณ์ทำให้กลายเป็นโรคเรื้อนจึงยอมปล่อยพญานาค เมื่อพญานาคหลุดพ้นจึงแปลงกายเป็นมนุษย์มีเครื่องทรงงดงาม คติธรรมที่ได้จากเรื่องนี้ ศีลบารมี การบำเพ็ญศีลทำให้จิตใจสงบ มีผู้คนมาทำร้ายก็ไม่โกรธอาฆาตแค้น อีกทั้งบุญกุศลยังทำให้แม้โดนทรมาณแค่ไหนก็ไม่เจ็บปวดเป็นทุกข์ ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้